...

โครงการศาสตร์พระราชา

ยินดีต้อนรับ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นัฐพงศ์ ส่งเนียม

Faculty of Science and Technology , Phranakhon Rajabhat University

dashboard_customize Dashboard

3

 

ตัวชี้วัด

3

 

Output

3

 

OutCome

3

 

เป้าหมาย

ข้อมูลโครงการศาสตร์พระราชา

1) โครงการหลัก :: ยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่ University as Marketplace

    กิจกรรมย่อย :: ฝึกอบรมการทำน้ำผักผลไม้เพื่อการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน โดยเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและเพื่อสืบสานพระราชปณิธาน

2) งบประมาณ :: 88,500 บาท

3) ผู้รับผิดชอบโครงการ

  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นัฐพงศ์ ส่งเนียม (หัวหน้าโครงการ) หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ 099-087-4433
  2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนันญดา บัวเผื่อน หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ 092-535-6978
  3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อังคณา จารุพินทุโสภณ หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ 089-649-5146
  4. อาจารย์ ดร.สื่อกัญญา จารุพินทุโสภณ หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ 097-239-2450

4) ที่มาและความสำคัญของโครงการ

     ศาสตร์พระราชา คือ แนวทางการพัฒนาของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่มีความลุ่มลึก รอบด้าน มองการณ์ไกลและเน้นความยั่งยืนยาวนาน ก่อนที่ประชาคมโลกจะตื่นตัวในเรื่องนี้ เป็นแนวทางการพัฒนาที่มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยทุกหมู่เหล่า องค์ประกอบของศาสตร์พระราชา คือ การศึกษาและสุขภาพ การเพิ่มผลิตภาพการผลิต การค้นคว้าวิจัยการบริหารความเสี่ยง การอนุรักษ์ธรรมชาติ และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แต่ละองค์ประกอบล้วนมีส่วนช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของทุกผู้ทุกคน โดยเฉพาะ คนจนผู้ยากไร้ โดยหลักการที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงใช้เป็นวิธีการทรงงานมาตลอดรัชสมัย คือ การเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา เป็นวิธีการแห่งศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
โดยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาหนึ่งที่ชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการ ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
ชุมชนหมู่บ้านเอื้ออาทร เทศบาลเมืองใหม่บางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี เป็นชุมชนเข้มแข็งที่ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำรงชีวิต โดยมีการปลูกพืชสวนครัวที่เป็นพืชสมุนไพรพื้นบ้านบริเวณรอบ ๆ ที่ว่างระหว่างอาคาร โดยพืชส่วนใหญ่ที่นิยมปลูกกันได้แก่ พริก ตะไคร้ มะกรูด มะนาว กะเพรา กระถิน มะเขือ เป็นต้น เพื่อนำมาใช้ประกอบอาหารและแปรรูปให้เกิดประโยชน์ เช่น ใช้เพื่อการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ และต่อมาได้มีการพัฒนานำเอาพืชสมุนไพรมาทำเป็นเครื่องดื่มสมุนไพร เช่น น้ำกระเจี๊ยบ น้ำอัญชัน น้ำมะนาว น้ำใบเตยและน้ำตะไคร้ เป็นต้น ซึ่งเป็นเครื่องดื่มที่ให้ทั้งรสชาติ และคุณประโยชน์ควบคู่กันคือ สรรพคุณทางยาที่ได้จากสมุนไพรที่นำมาเป็นเครื่องดื่ม อีกทั้งยังมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายตามธรรมชาติ จากกระแสความใส่ใจต่อสุขภาพ ทำให้คนในชุมชนหันมาดื่มน้ำผักผลไม้หรือน้ำสมุนไพรกันมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม คนในชุมชนยังขาดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของสรรพคุณ และวิธีการแปรรูป รวมถึงการเผยแพร่องค์ความรู้ในเรื่องน้ำผักผลไม้สมุนไพร ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ
จากประเด็นปัญหาดังกล่าวเพื่อเป็นการส่งเสริม อนุรักษ์ และเพื่อเป็นการสืบสานพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร คณะผู้ดำเนินโครงการจึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการผลิดน้ำผักผลไม้เพื่อสุขภาพ ในท้องถิ่นที่ปลอดภัย ตามแบบภูมิปัญญาไทยเพื่อบำรุงสุขภาพ โดยใช้สมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชนนำมาปรุงแต่งให้เป็นเครื่องดื่ม โดยยังคุณค่าด้วยการส่งเสริมสุขภาพหรือรักษาโรคไว้เช่นเดิม โดยน้ำดื่มสมุนไพร คือส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย โดยมีการจัดทำเว็บไซต์เพื่อเผยแพร่ความรู้และกิจกรรมการอบรมดังกล่าว

5) วัตถุประสงค์โครงการ

     1. เพื่อเป็นการส่งเสริม อนุรักษ์ และเพื่อเป็นการสืบสานพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระบรม ชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน
     2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เป็นการร่วมกันคิด ร่วมกันทำและร่วมพัฒนา ก่อให้เกิดความรักความสามัคคีในชุมชน
     3. เพื่อถ่ายทอดองความรู้ในการทำน้ำผักผลไม้เพื่อการดูแลสุขภาพของคนในชมชนและเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์

6) ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระดับชาติ

  • แผนระดับหนึ่ง :: þ 4. ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาค
  • แผนระดับสอง ::
    • 12. การพัฒนาการเรียนรู้
      • 9. ด้านสังคม
      • 12. ไทยมีกำลังคนสมรรถนะสูง มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคต

  • แผนระดับสาม
    • þ แผนงานยุทธศาสตร์เสริมสร้างพลังทางสังคม

         þ 4. แผนงานยุทธศาสตร์เสริมสร้างพลังทางสังคม

7) ความสอดคล้องกับแผนงานบูรณาการหลักของแผนปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Action Plan) มหาวิทยาลัยราชภัฏระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – พ.ศ. 2570)

  • 3 บริการวิชาการแก่ท้องถิ่นและสังคมภายใต้การจัดการเทคโนโลยีสมัยใหม่ น้อมนำแนวพระราชดำริเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนท้องถิ่นและสังคม

    • 1. การพัฒนาท้องถิ่น
      • 3. พัฒนาเศรษฐกิจฐานราก

8) ขั้นตอนการดำเนินงาน

  • ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน
    1. ประชุมเตรียมการและวางแผน เพื่อจัดเตรียมงาน
    2. ลงพื้นที่เพื่อสำรวจบริบทชุมชน
    3. ประสานผู้นำชุมชนและชาวบ้าน
    4. จัดกิจกรรมอบรมการทำธุรกิจผลิตภัณฑ์น้ำผักผลไม้เพื่อสุขภาพ
    5. จัดทำเว็บไซต์เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
    6. ประเมินการจัดโครงการ สรุปผล และจัดทำรายงาน

9) ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย

 

กิจกรรมย่อย

ตัวชี้วัด

ชื่อตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดประเภท/ค่าเป้าหมาย (หน่วยนับ)

ผลผลิต
(Output)

ผลลัพธ์
(Outcome)

ผลกระทบ
(Impact)

1. โครงการฝึกอบรมการทำน้ำผักผลไม้เพื่อการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน โดยเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและเพื่อสืบสานพระราชปณิธาน

เชิงปริมาณ (ระบุ)
1.จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ

ผู้เข้าอบรม 20 คน

มีการถ่ายทอดการทำน้ำผักผลไม้ที่ได้มาตรฐาน

ด้านสังคม มีความตระหนักรู้และตื่นตัวในการดื่มน้ำผักผลไม้ในการดูแลสุขภาพมากขึ้น

เชิงปริมาณ (ระบุ)
2. จำนวนองค์ความรู้ในการทำน้ำผักผลไม้เพื่อการดูแลสุขภาพ

1 องค์ความรู้

 

 

เชิงคุณภาพ (ระบุ)
ผู้เข้าร่วมอบรมมีการฝึกอบรมตามเกณฑ์ที่กำหนด

 

ผู้เข้าร่วมอบรมผ่านการฝึกอบรมตามเกณฑ์ที่กำหนด

 

 

 

10) ผลการดำเนินงานในภาพรวมตามแผนและวัตถุประสงค์ของโครงการ/กิจกรรม

วัตถุประสงค์ของโครงการ/กิจกรรม

การบรรลุเป้าหมาย

ผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์

บรรลุ

ไม่บรรลุ

  1. 1. เพื่อเป็นการส่งเสริม อนุรักษ์ และเพื่อเป็นการสืบสานพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระบรม ชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน

/

 

กลุ่มเป้าหมายจำนวน 20 คน ได้รับการอบรมปฏิบัติการการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ในชุมชนอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ได้แก่ การทำกระดาษเปลือกข้าวโพด การย้อมสีกระดาษด้วยพืชให้สีในท้องถิ่น  ฝักคูน ฝาง ดอกอัญชัน และใบสาบเสือ การทำกระดาษห่อของขวัญ
การประดิษฐ์ดอกไม้จากเปลือกข้าวโพด เป็นดอกจำปา ดอกแก้ว และดอกพิกุล และการประดิษฐ์ดอกไม้สำหรับที่ติดผม สร้อยคอ ดอกไม้ติดกล่องของขวัญ และดอกไม้กระจายกลิ่นน้ำหอมในบ้าน เป็นต้น

2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เป็นการร่วมกันคิด ร่วมกันทำและร่วมพัฒนา ก่อให้เกิดความรักความสามัคคีในชุมชน

/

 

นักศึกษาจำนวน 6 คน ได้ร่วมกิจกรรมและได้เรียนรู้ การเป็นวิทยากรและการจัดกิจกรรม และนำความรู้จากงานวิจัยไปเผยแพร่ในชุมชน

3.เพื่อถ่ายทอดองความรู้ในการทำน้ำผักผลไม้เพื่อการดูแลสุขภาพของคนในชมชนและเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์      

 

11) ภาพกิจกรรม

  •  

       
       

manage_history ประวัติหัวหน้าโครงการ

 

1) ข้อมูลหัวหน้าโครงการ

Card image

บันทึกข้อมูลครบถ้วน

70%

ผศ.ดร. นัฐพงศ์ ส่งเนียม

สาขาวิชา วิทยาการคอมพิวเตอร์

See Profile

6) โครงการศาสตร์พระราชา

ุ6.1) โครงการศาสตร์พระราชาที่กำลังดำเนินการอยู่

  • ปีที่ทำวิจัย ชื่อโครงการ ประเภทโครงการ งบประมาณ แหล่งทุน
    2565 ฝึกอบรมการทำน้ำผักผลไม้เพื่อการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน โดยเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและเพื่อสืบสานพระราชปณิธาน ... 88,500บาท. ...

6.2) โครงการศาสตร์พระราชาที่เสร็จสิ้นแล้ว

  • ปีทีี่ทำวิจัย ชื่อโครงการวิจัย งบประมาณ
    2565 ฝึกอบรมการทำน้ำผักผลไม้เพื่อการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน โดยเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและเพื่อสืบสานพระราชปณิธาน 88,500 บาท.

อัพเดตข้อมูล

7) ผลงานอื่น ๆ

ุ7.1) ประสบการณ์การทำงาน

  • ปีทีี่ทำวิจัย ชื่อโครงการวิจัย งบประมาณ
    2565 ... ...

7.2) ตำแหน่งบริหาร

  • ปีทีี่ทำวิจัย ชื่อโครงการวิจัย งบประมาณ
    2565 ... ...

อัพเดตข้อมูล

7) ภาพกิจกรรม/ โปสเตอร์ / วิดีโอ

 

...
...
...
...
...
...

เกี่ยวกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปรัชญา

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสร้างองค์ความรู้ สู่การพัฒนาชุมชน และท้องถิ่น

วิสัยทัศน์
ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและคุณธรรม นำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก้าวหน้า พัฒนาท้องถิ่นก้าวไกลสู่สากล

 

พันธกิจ
1. จัดการศึกษาและฝึกประสบการณ์วิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้นักศึกษามีความรู้ คุณธรรม และจริยธรรมในการดำเนินชีวิตยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพ
2. ส่งเสริมและสนับสนุนการแสวงหาความรู้จากการวิจัย นำไปสู่การพัฒนาวิชาการ วิชาชีพ พัฒนาคุณภาพชีวิต และก่อเกิดนวัตกรรม
3. บริการวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ เทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นบนรากฐานเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน
4. ส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และสืบสานศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาของท้องถิ่น
5. ส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ตลอดจนระบบการประกันคุณภาพการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ