...

โครงการศาสตร์พระราชา

ยินดีต้อนรับ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชุติมา สังคะหะ

Faculty of Science and Technology , Phranakhon Rajabhat University

dashboard_customize Dashboard

3

 

ตัวชี้วัด

3

 

Output

3

 

OutCome

3

 

เป้าหมาย

ข้อมูลโครงการศาสตร์พระราชา

1) โครงการหลัก :: ยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่ University as Marketplace

    กิจกรรมย่อย :: โครงการฝึกอบรมการนวดแผนไทยเพื่อสุขภาพสู่การส่งเสริมอาชีพในชุมชนเพื่อสืบสานพระราชปณิธานโดยเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์

2) งบประมาณ :: 153,500 บาท

3) ผู้รับผิดชอบโครงการ

  1. ผศ.ดร.ธนันญดา บัวเผื่อน (หัวหน้าโครงการ) หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ 092-535-6978
  2. ผศ.อังคณา จารุพินทุโสภณ หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ 089-649-5146
  3. ผศ.ดร.นัฐพงศ์ ส่งเนียม หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ 099-087-4433
  4. อ.ดร.สื่อกัญญา จารุพินทุโสภณ หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ 097-239-2450

     

4) ที่มาและความสำคัญของโครงการ

     อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี มีประชากร 67,832 คน ประกอบด้วย 17 ตำบล เป็นชุมชนเกษตรกรรม มีอาชีพหลักด้านการเกษตร การปลูกข้าวโพด หน่อไม้ฝรั่ง มันสับปะหลัง เป็นต้น หลังการเก็บเกี่ยวจะมีวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร เช่น ซังข้าวโพด ใบข้าวโพด ก้านเหลือทิ้งของหน่อไม้ฝรั่ง การจำกัดเกษตรกรใช้วิธีการเผา ซึ่งก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศ ซึ่งเห็นว่าวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเหล่านี้สามารถมาทำประโยชน์และสร้างเป็นรายได้ในระดับชุมชน และเกษตรกรสามารถจัดการเองได้โดยการมีส่วนร่วม ผู้สูงอายุ นักเรียนและเยาวชนสามารถมามีบทบาทและมีรายได้เสริม นั้นคือการนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนและสินค้าทางการท่องเที่ยว โดยผลิตภัณฑ์ชุมชนได้จากการนำเปลือกข้าวโพด ซังข้าวโพด ใบข้าวโพด นำมาประดิษฐ์เป็นของใช้ ก้านหน่อไม้ฝรั่งมาแปรรูปได้ทั้งของใช้ และอาหาร ในลักษณะต่างๆ เป็นต้น ในปี พ.ศ. 2565 นักศึกษาคหกรรมศาสตร์ได้รับเงินทุนสนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาหัตถกรรมจากเปลือกข้าวโพด ตำบลลำนารายณ์ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี โดยมีกิจกรรมการทำกระดาษทำมือจากเปลือกข้าวโพด การย้อมสีธรรมชาติกระดาษทำมือเปลือกข้าวโพด การทำดอกไม้จากกระดาษเปลือกข้าวโพด การจัดดอกไม้ประดิษฐ์จากเปลือกข้าวโพดเพื่อเป็นของตกแต่งบ้านและของชำร่วย เพื่อใช้ในการทำเป็นงานประดิษฐ์ใช้ในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในตำบล โดยสมาชิกเป็นผู้สูงอายุในชุมชน ทางสาขาจึงมีแนวคิดจะนำงานวิจัยของนักศึกษาไปอบรมให้กับเยาวชนและกลุ่มผู้สูงอายุอื่นๆ ที่มีความสนใจ เพื่อพัฒนาต่อยอดเป็นอาชีพ และเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนต่อไป

5) วัตถุประสงค์โครงการ

     1. เพื่ออบรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ในชุมชนอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี
     2. เพื่อให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะการถ่ายทอด ฝึกอบรมและเผยแพร่ความรู้ทางด้านวิชาการ และการปฏิบัติเชิงวิชาชีพแขนงต่างๆ     

6) ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระดับชาติ

  • แผนระดับหนึ่ง ::
  • แผนระดับสอง ::
  • แผนระดับสาม

7) ความสอดคล้องกับแผนงานบูรณาการหลักของแผนปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Action Plan) มหาวิทยาลัยราชภัฏระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – พ.ศ. 2570)

  • 1

    • ...

8) ขั้นตอนการดำเนินงาน

  • ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน
    1. การวางแผน (P) การวางแผนเริ่มจากการปรึกษาหารือและวางแผนการทำงานและระดมความคิดในการจัดการอบรมช่วงเดือนตุลาคม 2565 จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2656 กำหนดหัวข้อการอบรม กำหนดการอบรม เนื้อหาการอบรม และติดต่อวิทยาการในช่วงเดือนมกราคม 2566 จัดทำหนังสือเชิญและประชาสัมพันธ์การอบรม ทางคณะกรรมการทำงานโครงการได้ทำหนังสือจัดตั้งคณะกรรมการ เชิญวิทยากร ประชาสัมพันธ์กิจกรรมในชุมชนลำนารายณ์ และมอบหมายงานให้นักศึกษาเตรียมตัวสำหรับลงพื้นที่ ได้แก่ การรับลงทะเบียน จัดทำเอกสารประกอบการอบรม การออกแบบแบบสำรวจความพึงพอใจ และการเป็นผู้ช่วยวิทยากร
    และนัดหมายวันอบรม เดือนกุมภาพันธ์ 2566 และจัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ วันที่ 11-14 มีนาคม 2566 และจัดทำรายงานให้เสร็จสิ้นในเดือนมีนาคม
    2. การลงมือปฏิบัติ (D) กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ จัดขึ้นในวันที่ 11-14 มีนาคม 2566 เวลา 10.00 – 16.30 น. ณ ศาลา SML หมู่ 10 ตำบลลำนารายณ์ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 30 คน จำนวน 4 วัน วิทยากรการอบรม 3 ท่าน คือ คุณอุดม ระลึกมูล คุณสมหมาย หมื่นเต และคุณประนอม กมลแสงมณี เนื้อหาการอบรม ประกอบด้วย การเตรียมเปลือกข้าวโพดเพื่อทำกระดาษทำมือ การทำกระดาษทำมือจากเปลือกข้าวโพด การย้อมสีกระดาษจากเปลือกข้าวโพดด้วยพืชในท้องถิ่น ได้แก่ ดอกอัญชัน แก่นฝาง ใบสาบเสือ และฝักคูน การประดิษฐ์ดอกไม้จากกระดาษเปลือกข้าวโพด ได้แก่ ดอกแก้ว ดอกจำปา และดอกพิกุล การตกแต่งภาชนะด้วยดอกไม้จากกระดาษเปลือกข้าวโพด ได้แก่ การตกแต่งเป็นที่ติดผม เป็นสร้อยคอ เป็นที่ติดกล่องของขวัญ และตกแต่งขวดน้ำหอมกระจายกลิ่น
    3. การประเมินผล (C) ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมทั้ง 3 ด้าน แบ่งเป็น ด้านกิจกรรม ได้แก่ รูปแบบการจัดกิจกรรม และ ประโยชน์ที่ได้รับ มีค่าเฉลี่ย 4.77 และเนื้อหาของกิจกรรม ค่าเฉลี่ย 4.73 ด้านสถานที่ / ระยะเวลา / อาหาร ได้แก่ อาหารมีความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ย 4.77 สถานที่มีความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ย 4.73 และ ระยะเวลามีความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ย 4.63 โดยความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดทุกรายการ ด้านความรู้ความเข้าใจ พบว่า ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องนี้ หลัง การอบรม มีค่าเฉลี่ย 4.57 ระดับมากที่สุด ซึ่งมีค่าเฉลี่ยมากกว่าความรู้ ความเข้าใจในเรื่องนี้ ก่อน การอบรม ค่าเฉลี่ย 3.43 ระดับปานกลาง ด้านการนำความรู้ไปใช้ สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประกอบอาชีพเสริม และ สามารถนำความรู้ไปเผยแพร่/ถ่ายทอดได้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน 4.57 ความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด และอาจารย์ได้โจทย์วิจัยจำนวน 1 เรื่อง ที่จะนำมาใช้ในการของทุนสนับสนุนต่อไป
    4. การปรับปรุงแก้ไข (A) จากการจัดกิจกรรมพบว่า จากการอบรมสมาชิกกลุ่มอาชีพและผู้สูงอายุมีความสนใจที่จะต่อยอดให้เกิดเป็นอาชีพทำกระดาษจากพืชในท้องถิ่น ได้มีการทดลองทำกระดาษห่อของขวัญจากใบไผ่ ผลออกมาได้ผลิตภัณฑ์ที่ทางกลุ่มพอใจ และจะหาตลาดขายส่งต่อไป ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 10 ตำบลลำนารายณ์ จัดหาโรงเรือนและได้นำอุปกรณ์การทำกระดาษที่ทางโครงการได้จัดหาไปให้ ใช้เป็นแหล่งฝึกงานให้ประชาชนผู้สนใจอาชีพการทำกระดาษ และมีความประสงค์ให้ทางมหาวิทยาลัยจัดทำโครงการนี้เพิ่มเติมให้งบประมาณหน้า โดยให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายต่อไป

9) ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ/กิจกรรม

เชิงปริมาณ

รายการตัวชี้วัด

ค่าเป้าหมาย

หน่วยนับ

อาจารย์/บุคลากร

 

 

1.  ได้นำความรู้มาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น

3

เรื่อง

2.  อาจารย์เข้าร่วมโครงการ

5

คน

3.  อาจารย์ได้โจทย์วิจัย

1

เรื่อง

นักศึกษา

 

 

1. นักศึกษาได้พัฒนาทักษะการถ่ายทอด ฝึกอบรมและเผยแพร่ความรู้ทางด้านวิชาการ และการปฏิบัติเชิงวิชาชีพคหกรรมศาสตร์แขนงต่างๆ

6

คน

2. นักศึกษาได้นำวิจัยในวิชาวิจัยทางคหกรรมศาสตร์มาใช้เผยแพร่ 

 1

เรื่อง

ประชาชน/ชุมชน

 

 

1. จำนวนสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้สูงอายุและเยาวชนตำบลลำนารายณ์

30

คน

2. ได้ความรู้ไปยกระดับผลิตภัณฑ์จากกระดาษเปลือกข้าวโพด

5

ผลิตภัณฑ์

 

เชิงคุณภาพ

รายการตัวชี้วัด

ค่าเป้าหมาย

หน่วยนับ

อาจารย์/บุคลากร

 

 

1. ได้ประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับชุมชน

…………

…………..

2. ได้นำความรู้มาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น

…………

…………..

นักศึกษา

 

 

1. ได้ประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับชุมชน

…………

…………..

2. ได้นำผลการวิจัยจากวิชาวิจัยทางคหกรรมศาสตร์มาเผยแพร่ในชุมชน

…………

…………..

ประชาชน/ชุมชน

 

 

1..มีความพึงพอใจในกิจกรรมในระดับมากที่สุด

…………

…………..

2. ผลิตภัณฑ์ในชุมชนได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพมากขึ้น

…………

…………..

 

10) ผลการดำเนินงานในภาพรวมตามแผนและวัตถุประสงค์ของโครงการ/กิจกรรม

วัตถุประสงค์ของโครงการ/กิจกรรม

การบรรลุเป้าหมาย

ผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์

บรรลุ

ไม่บรรลุ

  1. เพื่ออบรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ในชุมชนอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี

/

 

กลุ่มเป้าหมายจำนวน 30 คน ได้รับการอบรมปฏิบัติการการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ในชุมชนอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ได้แก่ การทำกระดาษเปลือกข้าวโพด การย้อมสีกระดาษด้วยพืชให้สีในท้องถิ่น  ฝักคูน ฝาง ดอกอัญชัน และใบสาบเสือ การทำกระดาษห่อของขวัญ
การประดิษฐ์ดอกไม้จากเปลือกข้าวโพด เป็นดอกจำปา ดอกแก้ว และดอกพิกุล และการประดิษฐ์ดอกไม้สำหรับที่ติดผม สร้อยคอ ดอกไม้ติดกล่องของขวัญ และดอกไม้กระจายกลิ่นน้ำหอมในบ้าน เป็นต้น

2. เพื่อให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะการถ่ายทอด ฝึกอบรมและเผยแพร่ความรู้ทางด้านวิชาการ และการ

/

 

นักศึกษาจำนวน 6 คน ได้ร่วมกิจกรรมและได้เรียนรู้ การเป็นวิทยากรและการจัดกิจกรรม และนำความรู้จากงานวิจัยไปเผยแพร่ในชุมชน

 

11) ภาพกิจกรรม


manage_history ประวัติหัวหน้าโครงการ

 

1) ข้อมูลหัวหน้าโครงการ

Card image

บันทึกข้อมูลครบถ้วน

70%

ผศ.ดร.ชุติมา สังคะหะ

สาขาวิชา คหกรรมศษสตร์

See Profile

6) โครงการศาสตร์พระราชา

ุ6.1) โครงการศาสตร์พระราชาที่กำลังดำเนินการอยู่

  • ปีที่ทำวิจัย ชื่อโครงการ ประเภทโครงการ งบประมาณ แหล่งทุน
    2565 โครงการยกระดับศักยภาพผลิตภัณฑ์วัสดุเหลือใช้ในชุมชนอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ... 138,500บาท. ...

6.2) โครงการศาสตร์พระราชาที่เสร็จสิ้นแล้ว

  • ปีทีี่ทำวิจัย ชื่อโครงการวิจัย งบประมาณ
    2565 โครงการยกระดับศักยภาพผลิตภัณฑ์วัสดุเหลือใช้ในชุมชนอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี 138,500บาท.

อัพเดตข้อมูล

7) ผลงานอื่น ๆ

ุ7.1) ประสบการณ์การทำงาน

  • ปีทีี่ทำวิจัย ชื่อโครงการวิจัย งบประมาณ
    2565 ... ...

7.2) ตำแหน่งบริหาร

  • ปีทีี่ทำวิจัย ชื่อโครงการวิจัย งบประมาณ
    2565 ... ...

อัพเดตข้อมูล

7) ภาพกิจกรรม/ โปสเตอร์ / วิดีโอ

 

...
...
...
...
...
...

เกี่ยวกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปรัชญา

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสร้างองค์ความรู้ สู่การพัฒนาชุมชน และท้องถิ่น

วิสัยทัศน์
ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและคุณธรรม นำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก้าวหน้า พัฒนาท้องถิ่นก้าวไกลสู่สากล

 

พันธกิจ
1. จัดการศึกษาและฝึกประสบการณ์วิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้นักศึกษามีความรู้ คุณธรรม และจริยธรรมในการดำเนินชีวิตยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพ
2. ส่งเสริมและสนับสนุนการแสวงหาความรู้จากการวิจัย นำไปสู่การพัฒนาวิชาการ วิชาชีพ พัฒนาคุณภาพชีวิต และก่อเกิดนวัตกรรม
3. บริการวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ เทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นบนรากฐานเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน
4. ส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และสืบสานศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาของท้องถิ่น
5. ส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ตลอดจนระบบการประกันคุณภาพการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ